Chula Park
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระประสงค์ ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พร้อมด้วย พระราชภาดา และภคินี สนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระบรมชนกนาถพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย...
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริ จัดตั้งสภากาชาด ซึ่งเรียกกันในเวลานั้นว่าสภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้สำหรับ การรักษาพยาบาล เจ็บไข้ได้ป่วยตามคติของ นานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จ บริบูรณ์ ถ้าจะทรงบริจาคทรัพย์ สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศลอันประกอบ ด้วยถาวรประโยชน์ อนุโลมตาม พระราชประสงค์ ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติ แก่ราชอาณาจักร เมื่อทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราช โอรส พระธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง ทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกันสมทบ กับทุนของสภากาชาด สร้าง โรงพยาบาลขึ้น และทรงโปรดให้พระราชทานนา
ตาม พระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมชนกนาถว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด โรงพยาบาล เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2457 ตามแจ้งความของสภากาชาด เมื่อ 1 พฤษภาคม 2457 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็น โรงพยาบาลที่ดีจริง ต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติ ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาล ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการ รักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ และผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงคราม และ ยามปกติ โดยยึดมั่นในปณิธานอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น
วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือ ความคิดเห็น ทางการเมือง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล ตลอดจนการนำเทคโนโลยี ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ที่ทันสมัยรวมทั้งระบบ คอมพิวเตอร์มาใช้ในการรักษาพยาบาล มีการค้นคว้าวิจัย พัฒนาการรักษาและพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ในด้านการรักษา พยาบาล ทั้งนี้ด้วยการประสานงานกัน เป็นอย่างดีระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมนิสิต แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน ของคณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝึกอบรมนักศึกษา พยาบาล จากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และโรงเรียน รังสีเทคนิค ซึ่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ในสายงาน เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จึงถือได้ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์ของความดีเด่นทางวิทยาการ ในหลายสาขาวิชาของ วงการแพทย์ในปัจจุบัน และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานบริการ ของโรงพยาบาลต่อไป
• ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศด้วยการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาล
• สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย ฝึกอบรม และบริการวิชาการที่เป็นแหล่งอ้างอิงได้ในระดับสากล
• บริหารจัดการองค์กรให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพทางการเงิน มีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร